นวัตกรรมทางสังคมกับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือภัย แล้ง – กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

บทนำ

ภัยแล้ง (Drought) เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อการด ารงชีวิตของคน สัตว์ และพืช โดยภัยแล้งอาจมีสาเหตุมาจากสภาพธรรมชาติเช่น เกิดจากฝนตกน้อยหรือฝนทิ้งช่วง ความสามารถในการอุ้มน ้าของดินต ่า และแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีความตื้นเขิน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า (เบญจวรรณ ชัยศรี และคณะ, 2564; วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์และคณะ, 2564) การเกิดสภาวะภัยแล้งท าให้ขาดแคลนน ้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมไปถึงการขาดแคลนน ้าทางการเกษตรท าให้ผลผลิตของพืชตกต ่า ขาดความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรมีรายได้ ลดลง และอาจท าให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเข้าไปยังเมืองใหญ่น าไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม (บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ และคณะ, 2564) จากปัญหาดังกล่าวจึงท าให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้หาแนวทางในการป้องกัน และบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น การขุดสระน ้า การเจาะบ่อบาดาล การจัดเตรียมเครื่องสูบน ้า และรถบรรทุกน้ำ การปรับปรุงบำรุงคุณภาพดิน การส่งเสริมการปลูกพืชที ่ใช้น ้าน้อย และการน านวัตกรรม การเกษตร (Agricultural innovation) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง (ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ, 2563; บัว หลวง ฝ้ายเยื่อ และคณะ, 2564; ปัณฑิตา ตันวัฒนะ และคณะ, 2564) ส าหรับบทความนี้ผู้วิจัยน าเสนออีกหนึ่ง แนวทางในการรับมือกับภัยแล้งโดยใช้นวัตกรรมทางสังคม (Social innovation) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน ้าของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อ าเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการนำนวัตกรรมทางสังคมมาเป็นกลไกใน การขับเคลื่อนการด าเนินกิจกรรมของกลุ่มเพื่อให้สามารถรอดพ้นจากสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสถานการณ์และพื้นที ่ พร้อมทั้งส ่งเสริมการพัฒนาพื้นที ่ให้มีความมั ่นคง (Security) ความมั ่งคั่ง (Wealth) และยั่งยืน (Sustainability) (รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง และคณะ, 2564) ซึ่งนวัตกรรมทางสังคมดังกล่าว ประกอบด้วย 1) การประเมินศักยภาพแหล่งน้ำ 2) การจัดระบบการให้น ้าในแปลงไผ ่แบบเฉพาะจุด 3) การวางแผนการผลิต และ 4) การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้ง

 

สามารถเข้าถึงบทความได้ที่ https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/345