ถ่านชีวภาพ (Biochar) วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

บทนำ

ข้าว (Oryza sativa L.) เป็นธัญพืช (cereal grain) ที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญของประชากรโลก

และยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของประเทศไทย ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 หรือ “ข้าวหอมมะลิ” เป็นข้าวพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย มีความต้องการในตลาดสูงทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก (Chaum และคณะ, 2007) โดยแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีการเพาะปลูกประมาณ 80% ของพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทั้งประเทศ (กรมการข้าว, 2559) อย่างไรก็ตาม จากสภาพทรัพยากรดินในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ า มีความอุดมสมบูรณ์ต่า และพื้นที่บางส่วนประสบปัญหาดินเค็ม (Clermont-Dauphin และคณะ, 2010; Arunin และPongwichian, 2015) โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่วิกฤตดินเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(Wijitkosum, 2018) ทั้งนี้ ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มดังกล่าวเพื่อการเพาะปลูกยังคงให้ผลผลิตต่ าพื้นที่บางส่วนถูกทิ้งร้างไม่มีพืชปกคลุมผิวดิน และบางส่วนถูกน าไปใช้ประโยชน์ที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่ดินเค็มเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็มจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งส าหรับประเทศไทยเพื่อการรักษาระบบนิเวศและการสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

 

สามารถเข้าถึงบทความได้ที่ https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/275