นวัตกรรมสู้ภัยแล้ง – ตัวอย่างทางเลือกและทางรอดสำหรับเกษตรกรไทย

 

บทนำ

ภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย โดยปัญหาภัยแล้งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งสาเหตุโดยธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และสาเหตุจากการกระท าของมนุษย์เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ผลกระทบของภัยแล้งทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยมีรายงานว่าในระหว่างปี 2557 – 2562 ประเทศไทยมีพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากประมาณ 58,000,000 ไร่สร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย พริก กาแฟ ลำไย ทุเรียน สับปะรด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มูลค่าความเสียหายมากกว่า8,000 ล้านบาท บทความนี้ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมตัวอย่างนวัตกรรมสู้ภัยแล้งทางการเกษตรเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้และเป็นแนวทางสำหรับเกษตรกรในการน าไปประยุกต์ใช้เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งนวัตกรรมที่จะกล่าวถึงประกอบด้วย 1) นวัตกรรมการจัดการน ้า ได้แก่ ธนาคารน ้าใต้ดิน โคกหนองนาโมเดลการขุดบ่อจิ๋ว และระบบบ่อเติมน ้าใต้ดิน และ 2) นวัตกรรมการจัดการพืช ได้แก่ การปลูกพืชพันธุ์ทนแล้ง

 

สามารถเข้าถึงบทความได้ที่ https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/306